7439 จำนวนผู้เข้าชม |
เกิดเป็น “ผู้หญิง”(เพศทางชีววิทยา) จำเป็นต้องเสียเงินมากกว่าผู้ชาย จริงหรอ?
หากคุณได้เดินเข้าห้องนอนของผู้หญิงและผู้ชาย ก็คงจะเห็นความแตกต่างได้เลยว่า ห้องของผู้หญิงนั้นมักจะมีผลิตภัณฑ์ต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์ดูแลความสวยความงาม เสื้อผ้าหลากหลายสไตล์ ไหนจะเครื่องประดับที่ต้องมีกันทุกคน
เพราะชีวิตของผู้หญิงโดยส่วนใหญ่แล้ว ถูกผูกติดไว้กับปัจจัยภายนอกมากกว่าผู้ชาย อันเนื่องมาจาก “ค่านิยม” และ “ความคาดหวังของสังคม” ที่ทำให้ต้องใส่ใจกับภาพลักษณ์และดูแลตนเองเป็นพิเศษ ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายทางด้านอุปโภคที่มากมาย
วันนี้ Happi จึงอยากจะยกเรื่อง Pink Tax มาบอกเล่าให้ทุกคนได้รู้กันค่ะ
.
.
Pink Tax หรือภาษีสีชมพูคืออะไร
Pink Tax หรือที่เรียกว่า ภาษีสีชมพู คือ ภาษีพิเศษที่ผู้หญิงจ่ายไปกับผลิตภัณฑ์หรือแม้กระทั่งบริการการดูแลความสวย ความงามของผู้หญิง ที่มักจะมีราคามากกว่าสินค้าสำหรับผู้ชาย
แต่อย่างไรก็ตาม #ภาษีสีชมพู ไม่ใช่ภาษีที่เรียกเก็บเงินจริง แต่เป็นเพียงความเหลื่อมล้ำทางด้านราคาสินค้า ที่ส่งผลมาให้ผู้บริโภคอย่างผู้หญิงนั้นมีข้อเสียเปรียบทางการเงินมากกว่าผู้ชายเท่านั้นเอง
.
เป็นที่รู้กันว่าการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงนั้นมีค่าใช้จ่ายเยอะแยะมากมาย หากจะออกไปข้างนอก ก็ต้องแต่งหน้า ก่อนจะแต่งหน้าก็ต้องซื้อเครื่องสำอางค์ หากจะทำผม ก็ต้องมีผลิตภัณฑ์ทำผมไปอีก ผู้หญิงบางคนอาจจะทำทั้งเล็บมือและเล็บเท้า บ้างก็ต้องเลเซอร์ขนตามจุดต่างๆ จนทำให้ผู้ผลิตหลายราย มักจะผลิตสินค้าเพื่ออำนวยความสะดวกในการดูแลร่างกายของการเป็นผู้หญิงขึ้นมา
.
อาจจะมีหลายคนที่อ่านและเกิดข้อโต้แย้งว่า ในปัจจุบัน เพศชายก็มีการดูแลตัวเองทั้งในเรื่องเสื้อผ้า หน้าผมกันมากขึ้นแล้ว อีกทั้งในตอนนี้ยังมีผลิตภัณฑ์และบริการที่ออกมาตอบสนองทางเลือกและความต้องการของผู้ชายมากขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่า ค่าใช้จ่ายของผู้หญิงโดยส่วนมากนั้นมีรายละเอียดยิบย่อยมากกว่าอยู่ดี
อีกทั้ง The New York City Department of Consumer Affairs ที่ได้จัดทำการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับภาษีสีชมพู (Pink Tax) นั้น ได้สรุปข้อมูลในการเปรียบเทียบสินค้าจำนวน 800 รายการแล้วค้นพบว่า “ผลิตภัณฑ์ของผู้หญิงนั้นมีราคาสูงกว่าของผู้ชายจริง”
.
ยกตัวอย่าง เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย เมื่อสินค้านั้นมีสีชมพู หรือถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อผู้หญิงเป็นพิเศษกลับมีราคาสูงกว่าสินค้าทั่วไป หรือไม่ หากคุณต้องซื้อผ้าอนามัย ที่เป็นสินค้าจำเป็นของผู้มีประจำเดือนทุกคน ก็จะเห็นว่าปัจจุบันนั้นผู้ผลิตส่วนใหญ่ต่างออกแบบผ้าอนามัยที่มีความพิเศษเพื่อผู้มีประจำเดือนมากขึ้น เช่น ผ้าอนามัยสูตรเย็น ผ้าอนามัยกลิ่นพิเศษ หรือแม้กระทั่งผ้าอนามัยออร์แกนิคสำหรับผู้มีปัญหาผื่นคัน อย่างไรก็ตาม ความพิเศษเหล่านั้นต้องแลกมากับราคาที่สูงขึ้นอยู่ดี
.
.
“ผ้าอนามัย” เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดในเรื่องของภาษีสีชมพู เพราะผ้าอนามัยถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้มีประจำเดือนทุกคนต้องบริโภค และมีการเรียกเก็บ #ภาษีผ้าอนามัย จริง แต่กลับกันภาครัฐกลับไม่ให้ความสำคัญและทำให้เป็นเรื่องปกติที่ผู้มีประจำเดือนจะต้องใช้จ่ายไปทุกเดือน ทั้งๆ ที่ผู้มีประจำเดือนบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้ จนทำให้เกิดการกระแสการขับเคลื่อนเรื่อง #ภาษีผ้าอนามัย อยู่
.
.
สุดท้ายแล้ว อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะเกิดการตั้งคำถามว่า จริงๆ แล้วถ้าผู้หญิงเลือกที่จะไม่ซื้อผลิตภัณฑ์หรือเลือกใช้บริการเหล่านั้น ไม่ก็ตัดปัญหาด้วยการดูแลตนเองให้น้อยลงหน่อย ก็คงจะหมดปัญหาของ “ภาษีสีชมพู” ไปได้แล้ว แต่ในความเป็นจริง บางครั้งค่านิยมก็ปลูกฝังมาอย่างยาวนานจนทำให้เป็นเรื่องยากที่ผู้หญิงจะสามารถหลีกเลี่ยงได้
#ถ้วยอนามัยแฮปปี้ #ถ้วยอนามัย
#HappiCup #YourHappierPeriod